UFABETWINS ครั้งหนึ่งในอดีต ประเทศยูโกสลาเวียได้สร้างความยิ่งใหญ่เกรียงไกรให้ชาวโลกได้รับรู้ผ่านทางกีฬาฟุตบอล และฟุตบอลทีมชาติของพวกเขา
ที่ไม่ว่าจะแชมป์ยูโรหรือเหรียญทองโอลิมปิกก็เคยคว้ามาครอบครองแล้วทั้งสิ้น หรือจะศึกฟุตบอลโลกก็ไปได้ไกลถึงอันดับที่ 4 ทว่าในอีกมุมหนึ่ง กีฬาฟุตบอลที่พวกเขาเชี่ยวชาญได้กลายเป็นหนึ่งในชนวนที่นำไปสู่การล่มสลายของประเทศยูโกสลาเวียเช่นกัน และที่สำคัญชนวนดังกล่าวเกิดขึ้นจากแมตช์ฟุตบอลเพียงแมตช์เดียว ก่อนที่จะมีการแบ่งลีกแยกประเทศเหมือนในปัจจุบัน ดินาโม ซาเกร็บ มหาอำนาจลูกหนังแห่งโครเอเชีย กับ เรดสตาร์ เบลเกรด
ยักษ์ใหญ่จากเซอร์เบีย ถือเป็นสองสโมสรที่มีความขัดแย้งกันมาโดยตลอด แต่คงไม่มีเหตุการณ์ครั้งไหนจะหนักหนาเท่าสิ่งที่เกิดขึ้นในวันที่ 13 พฤษภาคม ปี 1990 อีกแล้ว เกิดอะไรขึ้นในวันนั้น? และมันนำไปสู่สงคราม, การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, การประกาศเอกราชประเทศอย่างไร? รอยร้าวแห่งยูโกสลาเวีย ก่อนจะไปถึงเหตุการณ์อันเป็นจุดไคลแมกซ์ของบทความนี้ อยากให้ทุกคนได้รู้ถึงประวัติศาสตร์และความขัดแย้งภายในประเทศยูโกสลาเวียกันก่อน
เพราะมันคือจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ทั้งหมด ยูโกสลาเวียมีเริ่มต้นฐานะรัฐชาติอย่างเป็นทางการในปี 1918 โดยเกิดขึ้นจากการวมกันของหลายอาณาจักร ได้แก่ อาณาจักรของคนกลุ่มเซิร์บ, โครแอต และสโลวีน หรือกลุ่มคนที่พูดภาษาและวัฒนธรรมสลาวิคใต้ รวมถึงเชื้อชาติอื่นๆ ที่อาศัยกระจัดกระจายอยู่ทั่วทั้งภูมิภาค ในปี 1921 มีประชากรประมาณ 12 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นชาวเซิร์บ 6 ล้านคน เป็นโครแอต 3 ล้านคน คนสโลวีน 1 ล้านคน
และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ อีก 2 ล้านคน โดยมีศาสนาและภาษาที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกับเชื้อชาติ จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่ายูโกสลาเวียคือประเทศที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์อย่างมาก ก่อให้เกิดความแตกต่างที่ฝังรากลึกลงในวัฒนธรรม ไมว่าจะศาสนา ความเชื่อ หรือภาษา ด้วยเหตุนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่การเติบโตขึ้นของประเทศจะซ่อนความขัดแย้งร้าวลึกไว้ภายใน อีกปัจจัยที่สร้างความแตกแยกระหว่างกลุ่มเชื้อชาติคือสภาพสังคมเศรษฐกิจ
ที่แต่ละกลุ่มมีความเหลื่อมล้ำกันอย่างเห็นได้ชัด เช่น กลุ่มสลาฟในสโลวีเนีย โครเอเชีย โวจโวดินา กับคนในแถบตะวันตกของคาบสมุทรบอลข่านซึ่งเคยอยู่ใต้การปกครองของจักรวรรดิฮับสบวร์กหรือออสโตร-ฮังกาเรียน ทำให้ได้รับอิทธิพลและเทคโนโลยีแบบยุโรปตะวันตกจากภาคพื้นทวีปตอนบน ต่างจากกลุ่มสลาฟที่เป็นคริสต์ออธอดอกซ์ที่การพัฒนาล้าหลังกว่า เนื่องจากได้รับอิทธิพลของจักรวรรดิออตโตมันที่ได้รับมีความเข้มข้นกว่า ในช่วงที่โลกกำลังคุกรุ่นด้วย
สงครามเย็น เศรษฐกิจของยูโกสลาเวียก็ตกต่ำตามไปด้วย เนื่องจากความช่วยเหลือที่เคยได้รับจากสหรัฐอเมริกาลดลง เพราะอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่าง นอกจากนั้น ยูโกสลาเวียก็มีความขัดแย้งกับสหภาพโซเวียตในประเด็นการส่งสายลับเข้าไปสอดแนมซึ่งกันและกันด้วย ยูโกสลาเวียแก้ปัญหานี้ด้วยการส่งออกแรงงานไปยังยุโรปตะวันตก โดยเฉพาะเยอรมนีตะวันตก ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้มีการท่องเที่ยวเพื่อดึงรายได้เข้าประเทศ โดยภูมิภาคที่ได้รับการส่ง
เสริมคือชายฝั่งทะเลแถบดัลเมเทีย ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศโครเอเชีย ส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มคนต่างเชื้อชาติชัดเจนมากขึ้น เข้าสู่ยุค 70s เศรษฐกิจของยูโกสลาเวียก็ตกต่ำอีกครั้งด้วยพิษเศรษฐกิจโลก ติโต ในฐานะผู้นำประเทศ ใช้ยุทธศาสตร์คล้ายกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคยุโรปตะวันออกและลาตินอเมริกาที่ประสบปัญหาเดียวกัน คือ กู้ยืมเงินต่างประเทศ จนกลายเป็นต้นเหตุของหนี้สาธารณะจำนวนมหาศาลกว่า 2.7 ล้านล้านดอลลาร์
สหรัฐฯ ทว่าเหมือนยิ่งแก้จะยิ่งแย่ เนื่องจากรัฐบาลจำเป็นต้องขึ้นภาษีเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ก้อนดังกล่าว จนนำไปสู่การขาดแคลนสินค้านำเข้าอย่างพลังงาน การถอนการลงทุนและอัตราการว่างงานที่พุ่งสูงขึ้น ติโต ไม่ได้อยู่เห็นการล่มสลายของยูโกสลาเวียด้วยตาตัวเอง เนื่องจากเขาถึงแก่อสัญกรรมไปในปี 1980 ก่อนที่ยูโกสลาเวียจะมีผู้นำคนใหม่ชื่อ สโลโบดัน มิโลเชวิช (Slobodan Milošević) ผู้มีเชื้อสายมอนเตเนกริน ซึ่งผู้นำคนใหม่นี่แหละ คือ
คนที่เร่งการล่มสลายของประเทศให้เร็วทันตาเห็นขึ้นไปอีก ผู้นำคนใหม่มาพร้อมกับแนวคิดการปกครองแบบใหม่ ด้วยการชูอุดมการณ์ชาตินิยมเชิงชาติพันธุ์แบบสุดโต่ง มิโลเชวิช สร้างความชอบธรรมและอำนาจให้กับกลุ่มคนเชื้อสายเซิร์บ ร่วมกับองค์กรการเมืองอย่างสันนิบาตคอมมิวนิสต์เซอร์เบีย (Serbia League of Communists) นำมาซึ่งการแบ่งแยกทางชาติพันธุ์บนความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ขบวนการแยกตัวเป็นรัฐอิสระเริ่มเกิดขึ้นในหลายพื้นที่
ขณะที่อุดมการณ์ชาตินิยมขยายตัวอย่างเข้มข้น และพัฒนาเป็นความขัดแย้งรุนแรง การดำเนินนโยบายนี้ของ มิโลเซวิช เริ่มต้นขึ้นในเดือนเมษายนปี 1987 ขณะที่เขาเดินทางไปแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวเซิร์บกับโคโซวาร์ ณ จังหวัดโคโซโว เขารับฟังปัญหาจากคนเชื้อสายเซิร์บที่ถูกคนโคโซวาร์กดขี่ มิโลเชวิช รับปากว่าจะช่วยจัดการปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยยึดชาวเซิร์บเป็นที่ตั้ง หลังจากนั้น มิโลเชวิช ก็เริ่มสร้างกระแสชาตินิยมในหมู่ชาวเซิร์บมาก
ยิ่งขึ้น โดยดึงเอาเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ซึ่งอ่อนไหวสำหรับชาติพันธุ์ต่างๆในยูโกสลาเวียอย่าง “สมรภูมิโคโซโว” (Battle of Kosovo) ซึ่งเกิดขึ้นและจบลงไปกว่า 600 ปี มาใช้ปั่นความรู้สึกผู้คน การเข้ามาของ มิโลเชวิช ผู้มีแนวคิดเชื้อชาตินิยมสุดโต่ง ซึ่งแตกต่างกับ ติโต ที่ตลอด 35 ปีของการบริหารประเทศเขาใช้แนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ที่ต้องการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวของสังคม ลดทอนสำนึกความภาคภูมิใจในเชื้อชาติใดเชื้อชาติหนึ่งลงอย่างตรงข้ามโดยสิ้น
เชิง เป็นตัวปลุกชนวนให้ขบวนการเรียกร้องขอแยกตัวเป็นรัฐอิสระจากยูโกสลาเวียก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนขึ้น หนึ่งในกลุ่มประเทศที่มีความประสงค์อยากแยกตัวอย่างแรงกล้าคือ โครเอเชีย โดยรัฐบาลของพวกเขาต้องการสร้างรัฐที่มีชนกลุ่มใหญ่เป็นคนโครแอตนับถือคริสต์นิกายคาทอลิก และแสดงท่าทีต่อต้านการขึ้นครองอำนาจของเซิร์บที่ถือคริสต์นิกายออธอดอกซ์ในเซอร์เบียอย่างแข็งกร้าว แม้จะมีการลงประชามติภายในโครเอเชีย แต่ชาวเซิร์บซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อย
กลับคว่ำบาตร ความขัดแย้งจึงเริ่มทวีดีกรีความเดือดขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงเหตุการณ์สำคัญในวันที่ 13 พฤษภาคม ปี 1990 กังฟูคิก สัญลักษณ์แห่งการไม่ยอมจำนน ก่อนที่ลีกฟุตบอลประเทศโครเอเชียกับเซอร์เบียจะแยกออกจากกันโดยสิ้นเชิงดังเช่นทุกวันนี้ ย้อนกลับไปในยุคก่อนทศวรรษที่ 90 พวกเขาเคยขับเคี่ยวในลีกของประเทศยูโกสลาเวียที่มีชื่อว่า Yugoslav First League แน่นอนว่า ดินาโม ซาเกร็บ กับ เรดสตาร์ เบลเกรด ซึ่งเป็นต้นเหตุของเหตุการณ์
ในบทความนี้คือคู่แข่งที่ขับเคี่ยวกันอย่างเอาเป็นเอาตายมาโดยตลอด โดยเฉพาะในช่วงปลายทศรรษ 80 ต่อต้นทศวรรษ 90 ที่ปัญหาความขัดแย้งด้านเชื้อชาติระหว่างชาวโครแอตกับชาวเซิร์บ ซึ่งมีสาเหตุจากนโยบายด้านชาติพันธุ์ของ สโลโบดัน มิโลเชวิช ดุเดือดร้อนแรงกว่าที่ผ่านมา ก็ส่งผลโดยตรงต่อบรรยากาศการแข่งขันในสนามฟุตบอลของทั้งสองทีมนี้ เนื่องจากทีมหนึ่งคือตัวแทนของชาวโครแอต อีกทีมคือความภาคภูมิใจของชาวเซิร์บ
ก่อนที่ฟางเส้นสุดท้ายแห่งความขัดแย้งดังกล่าวจะมอดไหม้ลงในวันที่ 13 พฤษภาคม ปี 1990 หลายคนเรียกมันว่า “วันที่สงครามเริ่มต้น” ถึงแม้ก่อนการแข่งขันนัดดังกล่าวจะเริ่มต้นขึ้น เรด สตาร์ เบลเกรด จะการันตีแชมป์ประจำฤดูกาลไปแล้วจากการที่พวกเขามีแต้มมากกว่าทีมอันดับที่ 2
อย่าง ดินาโม ซาเกรบ กว่า 20 แต้ม แต่อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า นี่ไม่ใช่แค่เรื่องของฟุตบอลอีกต่อไป มันคือเรื่องของศักดิ์ศรีด้านเชื้อชาติ ดังนั้น จึงมีแฟนบอล เรด สตาร์ มากกว่า 3,000 ชีวิตลงทุนเดินทางกว่า 400 กิโลเมตรไปยังกรุงซาเกร็บเพื่อรับชมเกมนี้
คลิ๊กเลย >>> https://www.ufabetwins.com/
อ่านข่าวเพิ่ม >>> บ้านผลบอล